HandySense ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ ผนวกเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อมทางการเกษตร และระบบควบคุมการทำงานอัตโนมัติ ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ด้วยหวังให้เกษตรกรไทยได้ใช้งานเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในราคาที่จับต้องได้ จากการติดตั้งใช้งานจริงในหลายจังหวัดทั่วประเทศ พิสูจน์แล้วว่า HandySense สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างน้อย 20% จากการลดต้นทุนผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สู่การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต วันนี้ HandySense พร้อมแล้วที่จะเปิดเผยองค์ความรู้ด้านการผลิตสู่สาธารณะในรูปแบบ Open Innovation โดยเร็ว ๆ นี้ เนคเทค-สวทช. และพันธมิตร เตรียมปล่อยพิมพ์เขียวการผลิต HandySense ทั้ง Schematic, PCB Design, Bill of Material และ Firmware ให้ทุกคนสามารถนำไปผลิต หรือ ต่อยอดการพัฒนาได้อย่างอิสระ เพื่อร่วมกันผลักดันให้ HandySene เป็นอุปกรณ์ Smart Farm ที่ทุกคนต้องมี ! ติดตามการเปิดตัวพร้อมกันเร็ว ๆ นี้ . . . จองสิทธิ์การใช้งานพิมพ์เขียว HandySense
Category: news
เนคเทค-สวทช. ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ”
24 มีนาคม 2560 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) ร่วมกับ ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตรและ ร่วมมือกันพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ฟาร์มต้นแบบในการพัฒนาเกษตรแม่นยำผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) หวังเสริมแกร่งเกษตรกรรายย่อย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และควบคุมคุณภาพทางการเกษตร คิกออฟประเทศไทยสู่ยุคเกษตรกรรม 4.0 เต็มรูปแบบ ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า ภาคเกษตรกรรม ถือเป็นหนึ่งในพื้นที่ยุทธศาสตร์ตามแผนปฏิบัติการเนคเทคระยะ 5 ปี พ.ศ.2560 – 2564 ที่มุ่งเน้นงานวิจัยและพัฒนาเพื่อตอบโจทย์ประเทศ ยกระดับมาตรฐานของผลผลิตทางการเกษตรในแง่ของปริมาณและคุณภาพ ซึ่งที่ผ่านมาได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุน Smart Farm อาทิ เทคโนโลยี What2grow ที่นำไปใช้ใน AgriMap Online สถานีตรวจวัดข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช และเครื่องนับเมล็ดปาล์มอัตโนมัติ สำหรับโครงการ “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ” ศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดของเนคเทค ได้พัฒนาด้านเทคโนโลยีด้านเซนเซอร์ โดยสร้างระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบเครือข่ายเกษตรกร จำเพาะเจาะจงตามชนิดของพืช… Continue reading เนคเทค-สวทช. ดีแทค กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือพัฒนา “ดีแทคฟาร์มแม่นยำ”
งานแถลงข่าวสรุปผลงาน สวทช. ประจำปี 2563 (5/6)
สภาเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา จับมือ Nectec ขยายผลระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense)
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 ณ ห้องประชุมสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา นายพงษ์เทพ รัตนา ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายกิตติทัต ธรรมโชติ หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา และเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ ร่วมประชุมหารือกับทีมนักวิจัย จากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในประเด็นการขยายผลระบบเกษตรอัจฉริยะ (Handy Sense) เพิ่มประสิทธิภาพให้กับเกษตรกร ยุวเกษตรกรในจังหวัดฉะเชิงเทรา จากประเด็นการหารือพูดคุย ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ต้องการให้สภาเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นหน่วยงานประสานเกษตรกร และโรงเรียน ที่มีความต้องการด้านระบบเกษตรอัจฉริยะ เพื่อเป็นการขับเคลื่อนพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นพื้นที่ต้นแบบด้านระบบเกษตรอัจฉริยะ โดยในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา ทางNectec สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดฉะเชิงเทรา สภาเกษตรกรจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการติดตั้งระบบเกษตรอัจฉริยะไปแล้วจำนวน 34 แห่ง ซึ่งทาง Nectec มีจำนวนเป้าหมายทั้งสิ้น จำนวน 77 แห่งภายในจังหวัดะเชิงเทรา ที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2564
มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ เนคเทค-สวทช. และดีแทค ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ”
มูลนิธิชัยพัฒนา กรุงเทพมหานคร วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563: ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนคเทค – สวทช. และ นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการแปลงฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ร่วมศึกษาวิจัยและพัฒนาพื้นที่การเกษตรที่สูงผ่านโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ” ที่ใช้เทคโนโลยี IoT และเซนเซอร์ครบวงจร ที่ทำงานร่วมกับ Cloud Service Mobile Application ที่ดีแทคพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นระบบควบคุมการเพาะปลูกแบบในโรงเรือนให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ทุกฤดู มุ่งผนึกกำลังสร้างเป็นองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้ชุมชนโดยรอบและเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวถึงความร่วมมือดังกล่าวว่า “ตามที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น… Continue reading มูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับ เนคเทค-สวทช. และดีแทค ลงนามความร่วมมือนำร่องโครงการฟาร์มสาธิตเห็ดหลินจือด้วยโซลูชัน “ฟาร์มแม่นยำ”
การเกษตรในประเทศไทยยังคงเป็นอาชีพที่หล่อเลี้ยงประชากรหลายล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และยังเป็นสินค้าส่งออกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาอย่างยาวนาน แต่เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่ช่วยให้การเกษตรกรรมมีต้นทุนที่ลดลง และได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น HandySense
ระบบฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm เป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่ประยุกต์และบูรณาการหลายศาสตร์มาใช้งานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อนำไปใช้งานในภาคเกษตรกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในการลดต้นทุน ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และความสะดวกสบาย ซึ่งในประเทศไทยได้นำระบบนี้มาใช้งานจริงแล้วในหลายพื้นที่HandySense ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC ศูนย์วิจัยภายใต้ สวทช. เป็นองค์กรวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง เปรียบเสมือน “เครื่องจักรสำคัญในการสร้างฐานรากทางเทคโนโลยีให้ประเทศ” รวมถึงเตรียมความพร้อมงานวิจัยเทคโนโลยีแห่งอนาคต โดยร่วมกับพันธมิตรผลักดันให้เกิดระบบนิเวศของการใช้เทคโนโลยีที่วิจัยและพัฒนาขึ้นให้เกิดประโยชน์ต่อคนหมู่มาก ที่ให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เสมือนกับการเป็นสาธารณูปโภคที่ส่งให้ประชาชนทุกคนในบ้าน ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าว ในช่วงหลายปีปี่ที่ผ่านมา NECTEC ได้สนับสนุนงานและพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวกับระบบ Smart Farm มาโดยตลอด ปัจจุบัน NECTEC ได้เผยแพร่นวัตกรรมแฮนดีเซนส์ – HandySense ซึ่งเป็นอุปกรณ์ IoT (Internet of Thaings) เซนเซอร์ และแอปพลิเคชันควบคุมสภาวะแวดล้อมที่เป็นตัวแปรสำคัญในการเพาะปลูกของพืช โดยสามารถกำหนดตัวแปรควบคุมสภาวะแวดล้อม เพื่อให้ได้สภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการเพาะปลูกมากที่สุด โดยอุปกรณ์สามารถใช้ได้ทั้งระบบการปลูกพืชในโรงเรือน และระบบการปลูกพืชกลางแจ้ง การทำงานของระบบ ระบบแฮนดีเซนส์ ทำงานร่วมกัน 2 ส่วน คือ (1) อุปกรณ์ตรวจวัดและควบคุม (2) เว็บแอปพลิเคชัน โดยจะตรวจวัดค่าสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชผลแบบเรียลไทม์ผ่านเซนเซอร์… Continue reading การเกษตรในประเทศไทยยังคงเป็นอาชีพที่หล่อเลี้ยงประชากรหลายล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และยังเป็นสินค้าส่งออกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศมาอย่างยาวนาน แต่เกษตรกรผู้ผลิตสินค้าจำนวนมากยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่ช่วยให้การเกษตรกรรมมีต้นทุนที่ลดลง และได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น HandySense